วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ดูหน้าตา คนอาสาชาวนครพนม ก่อนตัดสินใจ " เลือกตั้ง ' 54 "



มีคนบอกว่าตนทรยศหักหลัง และขายตัวตนจะไม่ทะเลาะโต้แย้งกับใคร ประชาชนเลือกตนมาเป็นรัฐบาล เพื่อนำงบประมาณมาสร้าง จ.นครพนม ปีงบประมาณ 2553 ได้ 5,200 ล้านบาท และปี 2554 จะได้งบ 6,500 ล้านบาท จ.นครพนมเคยมีรัฐมนตรีและเคยมีนายกรัฐมนตรี แต่เพียงแค่ 3 ปีตนจัดให้แล้ว 












นายชวลิต ปราศรัยว่า โพลสำรวจพรรคเพื่อไทย ทุกโพลทุกสำนักชนะพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องอื่นไม่ต้องพูดถึง แม้แต่ ม.นครพนมทำโพลสำรวจผู้สมัคร ส.ส.นครพนม ทั้ง 4 เขตเลือกตั้งได้ 75.6 เปอร์เซ็นต์ ชนะทุกพรรคขาดลอย 

" มหา'ลัย ชั้น 3  นี่มันเชื่อถือได้  งั้นรึ   "
"  ก็ อั๊ว  ตั้งมากับมือ "


หัวหน้าแก๊งค์ " สี่นาย  " - นายแพทย์ - นายพล - นายอำเภอ - นายก อบจ.
ที่กำลังจะโด่งดังในเวลาอีกไม่นาน จากหนังสือ " ชำแหละผลงาน หมาหลง "


เจ้าแม่ม๊อบเสื้้อแดง  เป็นข้าวนอกนา แต่ชอบอ้าง " ชาวนครพนม " เป็นที่ตั้ง
นางมนพร ปราศรัยระบุว่า เป็นระฆังยกแรกที่จะพิพากษาคนเนรคุณพรรค ทำลายอุดมการณ์ของคนนครพนม พรรคคู่แข่งกระแสดีแต่ไม่ได้กระสุน แต่เป็นกระสุนปล้นจากประชาชน ถ้าเขาเอาเหล้าให้กินเอาเงินให้ รีบเอาแต่ไม่ต้องเลือก 

oooooooooooooooooooooooooooo

กกต.นครพนม รับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เมื่อสิ้นสุดการรับสมัคร มีผู้สมัคร10พรรครวม33คน

กกต.นครพนม รับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เมื่อสิ้นสุดการรับสมัคร มีผู้สมัคร10พรรครวม33คน

ตามที่ กกต.ประจำเขตเลือกตั้งที่ 1 ถึง 4 จังหวัดนครพนม เปิดรับสมัคร ผู้สมัครรับการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 24 - 28 พฤษภาคม 2554 เมื่อสิ้นสุดการรับสมัคร มี 10 พรรคการเมือง ส่งผู้สมัคร สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้นจำนวน33คน ดังนี้
พรรคเพื่อไทย 
เขต1นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์
เขต2นางมนพร เจริญศรี
เขต3นายไพจิต ศรีวรขาน
เขต4นายชูกัน กุลวงษา

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 
เขต1นายพร้อมศักดิ์ ราชม
เขต2นายภาสวัฒน์ บุญสม
เขต3นายพงษ์ศักดิ์ พิมพงค์เขต
เขต4นายอลงกต มณีกาศ

พรรคพลังมวลชน
เขต2นายทีปเทียนชัย เทพวงษา
เขต3นายสุระวิชญ์ ขันติญาราษฎร์

พรรคประชาธิปัตย์ 
เขต1นายณรงค์ฤทธิ์ โคจำนง
เขต2นายฤทธิ์ จัตวัฒนกุล
เขต3นายสมัย จันทร์ชนะ
เขต4นายปราจิตร ตรีศรี

พรรคไทยเป็นไทย 
เขต2นายประยูร กุลาไสย
เขต4นายอุทัย เรือนงาม

พรรคภูมิใจไทย 
เขต1นายศุภชัย โพธิ์สุ
เขต2นายอารมณ์ เวียงด้าน
เขต3นส.สุมาลี พูลศิริกุล
เขต4นายณพจน์สกร ทรัพยสิทธิ์

พรรคเพื่อฟ้าดิน 
เขต1นายคงเดช ไกรษร
เขต2นางมาลิณี วงษ์รักษ์
เขต3นายมงคล อภัยโส
เขต4นางวัฒนา ประทุมทิพย์

พรรคชาติไทยพัฒนา 
เขต1นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์
เขต2นายต่อศักดิ์ ควรมงคลเลิศ
เขต4นายชาญมเหศวร พงษ์พันธุ์นทีธร

พรรคความหวังใหม่ 
เขต1นายวิจิตร ชิณสาร
เขต2นายณัฐพล อนุวรรณ
เขต3นายจัตุชัย ชัยเทศ
เขต4นายจีรวัฒน์ ตุลาพัฒน์

พรรคพลังคนกีฬา 
เขต2นายกรัณฑ์ โกพลรัตน์
เขต3นายเกษมศักดิ์ ขอดเมชัย. 


          เมื่อพิจารณา ชื่อ ชั้น เงินทุน แล้ว  ก็คงจะมีอยู่ 2 พรรค ล่ะมั้ง ที่ต้อง " ห้ำหั่นกัน สมน้ำ สมเนื้อ " นอกนั้น ก็อาจจะเป็นม้ามืด " ตาอยู่ตานา "   ซึ่งก็มีโอกาศเป็นไปได้สูง  เพราะคะแนนสงสาร  หรือ เพราะ กระแส ความเกลียด รึ หมั่นใส้ " พรรคเก่า ตัวเกร็ง  "  ซึ่งชอบคุยข้ามหัวคนนครพนมมาตลอด 15  ปีว่า  "  เมืองนครพนม ของผม "  ( แล้วพวกมึงครอบครอง บ้านกูแต่เมื่อไหร่ ว๊ะ ) ก็กำลังแรงไม่น้อย    แต่อย่างไรก็ตาม  ก็เป็นเรื่องของ " เราคนนครพนม "  ( แท้ๆ ไม่ใช่หมาหลง ฝูงใหญ่ๆ  )  ที่ต้องตัดสินใจว่า  จะเลือกใครมาเป็น " สส.นครพนม " ที่เป็น  " ตัวแทนของชาวนครพนม ขันอาสา มารับใช้พ่อแม่พี่น้องชาวนครพนม  "  อย่างแท้จริง  


โดยให้แง่คิดสั้นนิดเดียว

              -    จะเลือก  คนที่อยากเป็น   ขี้ข้ารับใช้  " พ่อแม่พี่น้องประชาชน  ชาวนครพนม   "
                                                                             หรือ
               -   จะเลือก  คนที่อยากเป็น  ขี้ข้ารับใช้  " นายทุน  เจ้าของพรรค " 

                                                                                 สวัสดี
-


วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปฐมบท " เลือกตั้ง 2554 " ถูกใจ ไม่ถูกต้อง หรือ ถูกต้อง ไม่ถูกใจ


นับแต่มีพระราชกฤษฏีกาการยุบสภาฯ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  คณะกรรมการการเลือกตั้ง  ก็มีมติ กำหนดวันเลือกตั้ง สส. ขึ้นทั้งประเทศ ในวันที่ 3 กรกฏาคม 2554  
เป็นอันว่า  " ฤดูกาล หรือ สงครามการเลือกตั้ง " ครั้งใหม่ก็ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ  โดยมีพรรคการเมืองประกาศตัว กรรมการพรรคและผู้สมัครรับเลือกตั้งกันอย่างคึกคัก  


การเปิดรับสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และการจับสลากหมายเลขที่ใช้ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 สนามกีฬาไทย ญี่ปุ่น-ดินแดง บรรดาพรรคการเมืองใหญ่น้อยต่างๆก็จูงมือมาสมัครกันพร้อมหน้าพร้อมตา  และบรรยากาศก็เป็นไปอย่างคึกคัก โดยความสนใจของนักข่าวพุ่งไปที่ 2 พรรคใหญ่ ที่มีสิทธิ์ได้จัดตั้งรัฐบาลว่าจะจับได้เบอร์อะไร   และดูเหมือนว่า พรรคเพื่อไทย จะได้เฮลั่นดังสนั่นกว่าใคร หลังหัวหน้าพรรค นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ จับได้เบอร์ 1 หมายเลขแห่งนัยสำคัญของความเป็นที่หนึ่ง ขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จับได้ เบอร์ 10 ซึ่งหลายคนมองว่า เลขสองหลักอาจเสียเปรียบ  แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

สรุปหมายเลขประจำตัวพรรคการเมือง

           หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย
           หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
           หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่
           หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย
           หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย
           หมายเลข 6 พรรคพลังชล
           หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม
           หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย
           หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน
           หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์
           หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง
           หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ
           หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข
           หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม
           หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย
           หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย
           หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน
           หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน
           หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
           หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่
           หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา
           หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม
           หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี
           หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง
           หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย
           หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ
           หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า
           หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย
           หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย
           หมายเลข 30 พรรคมหาชน
           หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย

   สรุปว่า  การจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งมีจำนวนสส.มากเป็นอันดับ 1 และ 2   ก็คงจะเป็นของสองพรรคใหญ่ไม่มีใครแย่ง  แต่โอกาศจะได้จัดตั้งรัฐบาล ก็คงขึ้นกับพรรคขนาดกลาง  โดยมีพรรคเล็กเป็นตัวแปรที่สำคัญ  ไอ้เรื่องจะมาตีกินง่ายๆใครคิดอย่างนั้นก็คงฝันไป  เปรียบเทียบสองพรรคใหญ่ให้เข้าใจง่ายๆ ให้เห็นความแตกต่าง  พรรคหนึ่งเพิ่งเกิดใหม่แต่สส.ในพรรคล้วนแล้วแต่หน้าเก่าเขี้ยวลากดินประเภท " ชายสามโบสถ์ " เป็นส่วนใหญ่ การบริหารงานก็คล้ายบริษัทมหาชนแต่มีเจ้าของ ทำงานรวดเร็วถูกใจผู้คน  ส่วนเรื่องจะผิดจะถูกก็ค่อยมาว่ากัน  อีกพรรคหนึ่งก็เป็นพรรคเก่าแก่ บริหารงานก็คล้ายกับหน่วยงานราชการ  มีกฏระเบียบมากมาย  จะทำอะไรต้องระมัดระวังอย่าให้ผิดกฏหมาย  จึงเชื่องช้าไม่ทันใจผู้คน  จึงเป็นที่มาของคำว่า " ถูกใจ  ไม่ถูกต้อง  หรือ  ถูกต้อง  ไม่ถูกใจ "

ส่วนในจังหวัดนครพนมของเรา  เมื่อแต่ละพรรคได้ประกาศตัวผู้สมัครแบบแบ่งเขตและสมัครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เราก็จะได้นำเอามาพูดถึงอีกทีว่า  ใครเป็นใคร  และจะเป็นอย่างไรต่อไป