นับแต่มีพระราชกฤษฏีกาการยุบสภาฯ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็มีมติ กำหนดวันเลือกตั้ง สส. ขึ้นทั้งประเทศ ในวันที่ 3 กรกฏาคม 2554
เป็นอันว่า " ฤดูกาล หรือ สงครามการเลือกตั้ง " ครั้งใหม่ก็ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ โดยมีพรรคการเมืองประกาศตัว กรรมการพรรคและผู้สมัครรับเลือกตั้งกันอย่างคึกคัก
การเปิดรับสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และการจับสลากหมายเลขที่ใช้ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 สนามกีฬาไทย ญี่ปุ่น-ดินแดง บรรดาพรรคการเมืองใหญ่น้อยต่างๆก็จูงมือมาสมัครกันพร้อมหน้าพร้อมตา และบรรยากาศก็เป็นไปอย่างคึกคัก โดยความสนใจของนักข่าวพุ่งไปที่ 2 พรรคใหญ่ ที่มีสิทธิ์ได้จัดตั้งรัฐบาลว่าจะจับได้เบอร์อะไร และดูเหมือนว่า พรรคเพื่อไทย จะได้เฮลั่นดังสนั่นกว่าใคร หลังหัวหน้าพรรค นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ จับได้เบอร์ 1 หมายเลขแห่งนัยสำคัญของความเป็นที่หนึ่ง ขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จับได้ เบอร์ 10 ซึ่งหลายคนมองว่า เลขสองหลักอาจเสียเปรียบ แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
สรุปหมายเลขประจำตัวพรรคการเมือง
หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย
หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่
หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย
หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย
หมายเลข 6 พรรคพลังชล
หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม
หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย
หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน
หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์
หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง
หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ
หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข
หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม
หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย
หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย
หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน
หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน
หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่
หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา
หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม
หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี
หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง
หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย
หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ
หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า
หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย
หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย
หมายเลข 30 พรรคมหาชน
หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย































สรุปว่า การจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งมีจำนวนสส.มากเป็นอันดับ 1 และ 2 ก็คงจะเป็นของสองพรรคใหญ่ไม่มีใครแย่ง แต่โอกาศจะได้จัดตั้งรัฐบาล ก็คงขึ้นกับพรรคขนาดกลาง โดยมีพรรคเล็กเป็นตัวแปรที่สำคัญ ไอ้เรื่องจะมาตีกินง่ายๆใครคิดอย่างนั้นก็คงฝันไป เปรียบเทียบสองพรรคใหญ่ให้เข้าใจง่ายๆ ให้เห็นความแตกต่าง พรรคหนึ่งเพิ่งเกิดใหม่แต่สส.ในพรรคล้วนแล้วแต่หน้าเก่าเขี้ยวลากดินประเภท " ชายสามโบสถ์ " เป็นส่วนใหญ่ การบริหารงานก็คล้ายบริษัทมหาชนแต่มีเจ้าของ ทำงานรวดเร็วถูกใจผู้คน ส่วนเรื่องจะผิดจะถูกก็ค่อยมาว่ากัน อีกพรรคหนึ่งก็เป็นพรรคเก่าแก่ บริหารงานก็คล้ายกับหน่วยงานราชการ มีกฏระเบียบมากมาย จะทำอะไรต้องระมัดระวังอย่าให้ผิดกฏหมาย จึงเชื่องช้าไม่ทันใจผู้คน จึงเป็นที่มาของคำว่า " ถูกใจ ไม่ถูกต้อง หรือ ถูกต้อง ไม่ถูกใจ "
ส่วนในจังหวัดนครพนมของเรา เมื่อแต่ละพรรคได้ประกาศตัวผู้สมัครแบบแบ่งเขตและสมัครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้นำเอามาพูดถึงอีกทีว่า ใครเป็นใคร และจะเป็นอย่างไรต่อไป